บ้านทรงไทย  

Posted by Porntavin

ภาพ:Bangkok21.jpg

        - ห้ามมีร่องน้ำไหลผ่านกลางที่ดินหรือบ้าน เนื่อง มาจากว่าร่องน้ำที่อยู่กลางบ้านนั้น อาจก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนั้นยังมีการดูแลรักษาที่ยากจนอาจจะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค อันเป็นอันตรายต่อท่านได้ การมีร่องน้ำอยู่กลางบ้านของท่านนั้น ก็มีลักษณะเหมือนบ้านของท่านแยกออกจากกันเหมือนเมืองอกแตก อันเป็นลักษณะที่ไม่ดี
        - ห้ามปลูกบ้านคร่อมบ่อน้ำหรือตอไม้ บริเวณที่มีตอ ไม้นั้นการขุดหลุมหรือปรับพื้นที่ทำได้ยาก เนื่องจากมีรากไม้ที่แม้จะตายแล้วแต่ก็มีความแข็งแรงยากแก่การรื้อถอนแต่พอ ตอไม้เริ่มผุพังก็อาจเป็นที่อยู่ของปลวก, มด เป็นต้น อาจเป็นอันตรายต่อบ้านท่านได้ ส่วนบ่อน้ำเก่านั้นเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของดินน้อยกว่าส่วนอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะมีการถมอย่างดีแล้วก็ตาม นอกจากนี้บ่อน้ำเก่าบางแห่งยังเป็นตาน้ำที่มีน้ำซึมตลอดเวลาอีกด้วย จะเห็นว่าทั้งสองส่วนนี้จะมีผลต่อการวางโครงสร้างบ้านของท่าน ขอให้คนรักบ้านพิจารณาข้อนี้กันให้ดี
        - ห้ามสร้างบ้านอยู่ในน้ำ โดยปกติในอากาศจะมีความ ชื้นอยู่ในระดับที่พอเหมาะ (เรียกว่าภาวะน่าสบาย ประกอบไปด้วยอุณภูมิ ความชื้น การถ่ายเทอากาศ) หากบ้านท่านอยู่บนน้ำแล้วความชื้นในอากาศก็จะมีมากขึ้นส่งผลให้ท่านรู้สึก อึดอัด ไม่สบายตัว มีโอกาศเป็นโรคทางเดินหายใจได้ นอกจากนั้น โครงสร้างของบ้านที่อยู่ระหว่างน้ำและอากาศ ก็มีโอกาสจะสึกกร่อนได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย
        - ห้ามสร้างสระน้ำใหญ่ติดกับตัวบ้าน เช่นเดียวกับข้อ ที่แล้ว การที่บ้านท่านจะมีสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ติดกับตัวบ้านนั้น นอกจากสระน้ำที่มีขนาดใหญ่นั้นจะข่มบดบังรัศมีของบ้านท่านแล้วนั้น ก็ยังมีเรื่องความชื้นที่สระน้ำขนาดใหญ่ถ่ายเทให้กับอากาศในปริมาณที่มากจน เกินไปได้ และยังต้องระวังการทรุดตัวของโครงสร้างบ้าน แต่หากเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบ, แม่น้ำ ไม่เป็นไร
        - ห้ามขุดบ่อน้ำไว้หลังบ้าน เพราะหลังบ้านเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมสักเท่าไร อีกทั้งยังมืดและอาจจะรก ร้าง การมีบ่อน้ำอยู่หลังบ้านจึงเป็นอันตราย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนการดูแลรักษาทำได้ยาก การใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำก็ดูไม่คุ้มค่าสักเท่าไร
        - ห้ามก่อสร้างกำแพงก่อนการสร้างบ้าน ในการสร้างบ้านนั้นท่านจำเป็นต้องขนย้ายวัสดุต่างๆ เข้าออกอยู่ตลอดเวลา หากท่านสร้างกำแพงบ้านก่อนแล้วนั้น การขนย้ายวัสดุก็ไม่คล่องตัว อีกทั้งอาจจะทำให้กำแพงสวยๆ ที่สร้างเสร็จแล้วของท่านชำรุดเสียหายได้
        - ห้ามสร้างกำแพงหรือรั้วสูงกว่าตัวบ้าน การที่บ้าน ของท่านจะมีสภาวะน่าสบาย มีความโล่งโปร่งสบายได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีลมพัดผ่านและถ่ายเทอากาศที่ดี การสร้างกำแพงหรือรั้วสูงๆนั้น จะเป็นการปิดกั้นทิศทางลมนั้นเสีย ทำให้อากาศในบ้านท่านอุดอู้ ไม่เกิดการถ่ายเทแต่อย่างใด
        - ห้ามสร้างศาลพระภูมิหันหน้าออกนอกบ้าน เรื่องของความเชื่อและเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การวางศาลพระภูมิในตำแหน่งที่เหมาะสมนั้น ทำให้มีความสะดวกต่อการสักการบูชาเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความเจริญรุ่งเรืองได้
        - ห้ามสร้างบนหน้าผาสูงชัน แม้ ว่าตามหน้าผาสูงๆจะมีทิวทัศน์ที่สวยงามก็ตาม บ้านที่อยู่บนหน้าผาสูงชันนั้น ทำให้ผู้อาศัยเกิดความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัย หากคำนึงถึงตั้งแต่ในช่วงการก่อสร้างแล้ว การขนย้ายวัสดุเพื่อมาก่อสร้างก็ทำได้ยาก
        - ห้ามสร้างซุ้มประตูใหญ่กว่าตัวบ้าน ซุ้มประตูที่มีขนาดใหญ่เกินไป ก็จะข่มให้บ้านของท่านหมดสง่าราศี เนื่องจากขนาดของบ้านที่เล็กกว่า อีกทั้งคนที่ผ่านซุ้มประตูมาก็เกิดความรู้สึกต่อซุ้มประตูบ้านขนาดใหญ่ที่ ไม่สู้จะดีนัก
        - ห้ามสร้างบันไดหรือห้องน้ำห้องส้วมอยู่กลางบ้าน โดยหลักการพื้นฐานแล้วบันไดกับห้องน้ำห้องส้วมนั้นเป็นส่วนที่ต้องการแสง สว่าง บันไดนั้นจำเป็นต้องมีการให้แสงสว่างที่เพียงพอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ อาจจะเกิดขึ้นจากการก้าวขึ้นลงบันได ยิ่งผู้สูงอายุหรือเด็กยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ในส่วนของห้องน้ำห้องส้วมนั้น เป็นห้องที่ต้องการแสงสว่างและการระบายอากาศที่ดีเพราะเป็นเรื่องสุขอนามัย ดังนั้นหากบันไดและห้องน้ำห้องส้วมอยู่กลางบ้านเสียแล้วทั้งแสงสว่างและการ ระบายอากาศก็ย่อมจะทำได้ยาก


ภาพ:Bangkok22.jpg

        - ห้ามสร้างห้องน้ำห้องส้วมมากกว่าสมาชิกในบ้าน ไม่มีความจำ เป็นอันใดที่ปริมาณห้องน้ำห้องส้วมจะมากกว่าสมาชิกในบ้าน เพราะโอกาสที่คนในบ้านจะใช้ห้องน้ำพร้อมกันนั้นมีน้อยมาก ห้องน้ำห้องส้วมเป็นห้องที่หมุนเวียนกันใช้ได้ ฉะนั้นการสร้างห้องน้ำห้องส้วมหลายห้องมากจนเกินไปจึงเป็นการเสียงบประมาณ และจะเป็นการใช้พื้นที่ภายในบ้านที่มีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างไม่คุ้มค่านัก
        - ห้ามสร้างห้องนอนไว้ใต้บันไดบ้าน ห้องนอนและบันได บ้านนั้น ในแง่การใช้สอยก็เป็นสิ่งที่ขัดกันโดยธรรมชาติเนื่องจากว่าห้องนอนเป็นห้อง ที่ต้องการความสงบเป็นส่วนตัวเพื่อพักผ่อนนอนหลับ ขณะที่บันไดเป็นส่วนที่บุคคลภายในบ้านใช้เป็นทางสัญจรขึ้นลงตลอดเวลา จึงเกิดเสียงรบกวนหากทำห้องนอนไว้ที่ใต้บันได วิธีใช้ประโยชน์จากส่วนใต้บันไดนี้อาจใช้เป็นห้องเก็บของก็จะดูมีความเหมาะ สมกว่า
        - ห้ามสร้างประตูหน้าต่างมากเกินไป การมีประตู หน้าต่างมากๆอาจทำให้บ้านโล่งโปร่งสบายก็จริง แต่ว่าหากมีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านทำได้ยาก ทำให้เปิดปิดลำบาก อีกทั้งเวลาเกิดฝนตกหรือลมพายุ การจะปิดประตูหน้าต่างจำนวนมากๆ เพื่อป้องกันกระแสลมแรงและน้ำฝนที่ซัดเข้าบ้าน ในเวลาอันรวดเร็วก็ดูเหมือนจะมีความยุ่งยากไม่น้อยทีเดียว
        - ไม่ควรดัดแปลงเอากำแพงเจาะเป็นช่องหน้าต่าง เนื่องจากกำแพงเป็นสิ่งห่อหุ้มอาณาเขตและปกป้องบ้านของท่าน และในการดัดแปลงนั้นเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนและยากกว่าคิดวางแผนสร้าง ตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นไปได้จึงไม่ควรจะดัดแปลงโดยไม่จำเป็น
        - ไม่ควรสร้างบ้านที่ใหญ่เกินไป แต่มีคนอยู่น้อย การสร้างบ้านควรพิจารณาถึงสมาชิกในบ้านด้วยเพราะหากบ้านมีขนาดใหญ่เกินไป ก็จะทำให้การพบปะของสมาชิกในบ้านน้อยลงเนื่องจากขนาดที่ใหญ่ของบ้านนั้นเอง นอกจากนี้ยังดูแลรักษาให้ทั่วถึงได้ยาก
        ในพื้นที่ที่ต่างกันออกไปนั้น ข้อห้ามแต่ละข้อก็อาจส่งผลไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน การพิจารณาไตร่ตรองแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ โดยยึดเอาข้อห้ามเคหะศาสตร์เป็นเครื่องเตือนใจ ก็เป็นสิ่งที่แฟนๆคนรักบ้านทุกๆ ท่านควรพินิจอย่าง"มีเหตุมีผล"และประกอบด้วย"สติ"
        ข้อห้ามหลาย ๆ ข้อนั้นอาจเป็นเรื่องของนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่หากใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดี ๆ แล้ว ก็เห็นเป็นจริงตามนั้น
        เคหะศาสตร์ที่เป็นข้อห้ามต่างๆที่ได้นำเสนอในทุกๆ ข้อนั้น ขอท่านพิจารณาไตร่ตรองและปรับใช้กับบ้านของท่านอย่างมีสติและรอบคอบนะ
        สำหรับหลักการทางเคหะศาสตร์ในการจัดวางห้องและส่วนต่างๆของ บ้าน ก็พิจารณาจากหลักของความต้องการโดยธรรมชาติของห้องนั้นๆ เพื่อป้องกันเหตุและภัยอันมองไม่เห็นที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ภาพ:Bangkok13.jpg

        การปลูกเรือไทย สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เป็นประเพณีตามหมู่คนไทยแต่ก่อนมักนิยมให้ความสำคัญกับฤกษ์ยามและความเชื่อ ต่างๆ โดยซึ่งความเชื่อถือและฤกษ์ยามในการปลูกบ้านทรงไทยในสมัยโบราณ มีความเชื่อกันไปต่างๆ นานาซึ่งสืบทอดกันมา
        ปัจจุบันการปลูกบ้านหรือเรือนไทย ซึ่งมีการประยุกต์ให้เข้ากับกาลสมัยและช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากอาชีพการงานและเวลารัดตัว บางคนก็ยังยึดถือตามประเพณีเดิม บางคนก็มีการดัดแปลงไปบ้าง บางคนก็อาศัย ฤกษ์สะดวก ก็มี
        ส่วนความเชื่อถือแต่โบราณและฤกษ์ยามในการปลูกบ้านทรงไทยพอจะสรุปได้ดังนี้


ภาพ:Bangkok19.jpg


  • ความเชื่อถือแต่โบราณและฤกษ์ยามในการปลูกบ้านทรงไทย
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนอ้าย ย่อมจักได้เป็นเศรษฐีทรัพย์สินเพิ่มพูนมี เพราะเดือนนี้ อุดมผล
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนยี่ ทรัพย์สิงคลีมามากผล เมื่อดิถีดูชอบกล ข้าศึกและแสนกล มามากล้นพ้นศัตรู
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนสาม ภัยติดตามงามน่าดู คนใจร้ายมันสู้ เมื่อถึงฤดูจักเกิดอันตราย
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนสี่ ลาภมากมีสุขสบาย ทุกข์โศกบรรเทาหาย ความสบายเพิ่มพูนมา
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนห้า ทุกข์เท่าฟ้ามาถึงตน ปลูกเดือนนี้ไม่มีผล ทุกข์ล้นพ้นภัยมีมา
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนหก ทาหยิบยกไว้เหลือหลายทรัพย์ศฤงคารบันดาลมามากมาย อยู่สุขสบายทรัพย์เนืองนอง
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนเจ็ด ทรัพย์ระเห็จสิ้นทั้งผองทรัพย์สินที่ตนครอง อัคคีภัยผยองมาเผาผลาญ
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนแปด จะร้อนแผดระทมหาญทรัพย์สินและบริวาร จะทรยศหมดไป
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนเก้า ใจไม่เศร้าเกิดบรรเลง ยศศักดิ์เกิดขึ้นเอง ทั้งทรัพย์สินเพิ่มพูนมา
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนสิบ จักฉิบหายต้องขื่อคา โรคภัยร้ายก้าวหน้า อันตรายจะมาปะปน
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนสิบเอ็ด อันความเท็จจักมาสู่ตน ปลูกเดือนนี้ไม่มีผล ต้องผจญกับทุกข์ภัย
  • ผู้ใดปลูกเรือนในเดือนสิบสอง เงินแลทองจักเหลือหลาย สรรพสัตว์แลวัวควาย บริวารมากมายไหลเทมา 
  • ภาพ:Bangkok14.jpg


    [แก้ไข] ข้อดี

             1. เป็นเรือนสำเร็จรูป บ้านทรงไทยหรือเรือนไทยเป็นเรือน สำเร็จรูป เนื่องจากเราต้องปรุงเครื่องเรือน เช่น เสา ฝา จั่วปั้น ระเบียง ประตูหน้าต่าง ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงนำไปประกอบในสถานที่ปลูกสร้าง ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนแล้วมุงหลังคาเป็นอันแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็เก็บงาน ขัด ทาสี พร้อมเข้าอยู่ได้
             2. จะสร้างมากหลังหรือน้อยหลังก็ได้เราสามารถต่อหรือขยาย บ้านทรงไทยออกไปอีกกี่หลังโดยไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของเรา
             3. แสดงออกถึงวัฒนธรรมไทย ท่านที่มีบ้านทรงไทย หรือาศัยอยู่บ้านทรงไทยนับได้ว่า ท่านเป็นคนไทยที่ช่วยอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมไทยไว้ปรากฏแก่ลูกหลานสืบไป หากเราปลูกแต่บ้านสไตล์ยุโรป หรือแนวตะวันตก บ้านเรือนไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งอาจสูญหายไป เคยมีผู้ติดต่อให้ไปสร้างบ้านทรงไทยให้ทั้งทางยุโรป อเมริกาและประเทศแอฟริกา
             4. สร้างโดยคนไทย บ้านทรงไทยควรจะส้รางโดยคนไทย เพื่อคนไทย เพื่อลูกหลานไทย
             5. แสดงลักษณะสถาปัตยกรรมประจำชาติ บ้านทรงไทย มีศิลปะการก่อสร้างที่น่าทึ่ง เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติที่โดดเด่นมาก ถ้าเราเห็นรูปแบบบ้านทรงไทยที่ไหนๆในโลก เราจะทราบได้ทันทีว่านี่คือประเทศไทย ดังที่เราจะเห็นปรากฏบ่อยๆ บนโลโก็หรือสัญญลักษณ์ต่างๆ ของไทย เราต้องยกย่องบรรพบุรุษของเรา ที่สามารถสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยและเป็น เอกลักษณ์เฉพาะของไทย ตราบเท่าทุกวันนี้
             6. ใต้ถุนบ้านใช้สอยเอนกประสงค์ บ้านทรงไทยใต้ถุนโล่ง เราสามารถใช้งานได้แบบเอนกประสงค์ สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ หรือจะต่อเติมกั้นห้องได้อีกมาก
             7. ใต้ถุนเรือนโปร่งถ่ายเทอากาศ ทำให้ใต้ถุนเย็นสบาย หากไม่มีการกั้นห้องเพิ่มเติม ทำให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก ทำให้ใต้ถุนเย็นสบาย ไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ


    ภาพ:Bangkok10.jpg

             8. หลังคาทรงสูงกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ห้องได้ดี การที่มีหลังคาทรงสูงการถ่ายเทความร้อนทำได้ดี อากาศร้อนจะลอยไปอยู่ในช่วงหลังคา ทำให้ข้างล่างอากาศเย็นสบาย
             9. ความคิดและการปฏิบัติในการก่อสร้างได้ผลดี แนวความคิดในการออกแบบโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ เช่น สนองประโยชน์ใช้สอยความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ป้องกันความอบอ้าวของอากาศ ป้องกันฝน ป้องกันแสงแดดกล้ ป้องกันสัตย์ร้ายจากป่าและน้ำท่วม รับลมและระบายความอบอ้าว ไม้รับความร่มรื่นจากธรรมชาติ ใช้วัสดุก่อสร้างหาง่ายในท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ซึ่งนำมาออกแบบและสามารถนำไปปฏิบัติก่อสร้างได้ผลดีตามแนวคิดเหล่านั้น
             10. ใช้วัสดุก่อสร้างท้องถิ่น สมัยก่อน บ้านเราอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ ทำให้สามารถนำสร้างบ้านได้ง่าย วัสดุที่ใช้จะเป็นไม้เป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างนิยมใช้ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ฯลฯ ปัจจุบันยังนิยมใช้ไม้เก่า มาสร้างเนื่องไม้มีคุณภาพดี มีความแข็งแรง ไม่หดตัว
             11. ประกอบสร้างได้ในวันเดียว บ้านทรงไทยเป็นเรือนสำเร็จรูปก็จริง แต่ก็มีองค์ประกอบส่วนต่างๆ ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ระยะเวลาในการสร้างหรือประกอบจะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวบ้าน ถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กก็สามารถสร้างเสร็จในวันเดียว จำนวนช่างก็ต้องมีมากด้วย ถ้าหากบ้านมีขนาด ใหญ่ก็จะใช้เวาลประกอบหลายวัน และวัสดุที่ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้องมีการไส ขัด ทาสีและเก็บงานต่างๆ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาหลายวัน
             12. แสดงถึงความฉลาดในการทำโครงสร้างสอบเอียงเข้า การทำโครงสร้างสร้างสอบเอียงเข้า ทำให้สามารถรับน้ำหนักของหลงคาที่ถ่ายเทลงที่ตัวเสาได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยต้านแรงลมได้ดีอีกด้วย คนสมัยก่อนเก่งจริงๆ (คิดได้งัยเนี่ย..นับถือๆ)
             13. มีรูปทรวดทรงสวยงาม บ้านทรงไทยมีรูปทรงงดงาม อ่อนช้อย มีความสุนทรีอยู่ในตัว บ่งบอกถึงรสนิยมของเจ้าของบ้าน
             ฯลฯ


    [แก้ไข] ข้อเสีย

    ภาพ:Bangkok15.jpg

             1. มีขีดจำกัดต่อการใช้สอย มีข้อกำจัดในการจัดวาห้องน้ำ ในกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการทำห้องน้ำในห้องนอน หรือทำห้องครัวแบบสมัยใหม่ รวมทั้งการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเคหภัณฑ์ต่างๆ
             2. การสร้างมากหลัง ขาดการสัมพันธ์ของห้องต่อห้อง ถ้าเราสร้างมากหลัง หรือมีการต่อเติมเพิ่มขึ้น ทำให้ขาดความสัมพันธ์ของห้องหรือบ้านแต่ละหลัง ซึ่งสามารถแก้ไข โดยให้สถาปนิกออกแบบไว้ก่อนมีการก่อสร้างเพิ่มเติม
             3. เปลืองพื้นที่ในการปลูกสร้าง เรือนไทย ถ้าจะให้เป็นเรือนไทยที่ได้ขนาด ต้องปลูกสร้างบนพื้นที่ดิน ประมาณ 100 ตร.วา พื้นที่อาจลดลงตามฐานะของผู้ปลูก แต่ส่วนมากไม่ต่ำกว่า 50 ตร.วา ซึ่งควรมีต้นไม้ที่ดอกหอมแบบไทยๆ ปลูกประกอบ เช่น พิกุล ลำดวน จำปี จำปาหรือการะเวก ป็นต้น สำหรับ bansongthai.com เราสามารถปลูกบ้านทรงไทยสไตล์รีสอร์ท เป็นบ้านพักผ่อนหรือรับรอง ที่มีห้องน้ำพร้อมระเบยีงนั่งเล่น ได้ในพื้นที่ 30 ตร.วา
             4. ทำให้ขนาดกว้างใหญ่ได้ยาก ขนาดของบ้านทรงไทยมีมาตรฐานที่จำกัด ยากแก่การขยายแบบให้มีขนาดใหญ่ โดยทั่วไป จะมีขนาดความกว้างของห้อง ประมาณ 3.0 เมตร 3.5 เมตร 4 เมตรและ4.5 เมตร ส่วนความยาวของห้องก็ประมาณ 5 เมตร 7.5 เมตรและ 9 เมตร
             5. ต้านลมและหมดเปลือง บ้านทรงไทยมีหลังคาทรงสูง ทำให้มีรูปแบบที่ต้านลมและทำให้ต้องใช้วัสดุมุงหลังคา เช่นกระเบื้องดินเผามากกว่าปกติ
             6. ขาดการใช้ประโยชน์ส่วนตัว ในที่นี่หมายถึงบ้าน ทรงไทยเดิม ที่ห้องน้ำและห้องครัวแยกออกมาอีกหลังหนึ่ง ทำให้เวลาอาบน้ำ ต้องเดินมาอีกเรือนหนึ่ง ปัจจุบันเราสามารถสร้างหรือประยุกต์ให้ห้องน้ำติดกับห้องนอนได้ ทำให้มีความเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้น
             7. ใต้ถุนของนอกชานใช้ประโยชน์ได้น้อย เพราะเตี้ยเดินลอดไม่ได้ ปัจ ุจุบันเราสามารถสร้างให้ชานนอกมีระดับสูงได้ โดยทั่วไประดับชานนอก จะประมาณ +2.60 เมตร ซึ่งสามารถจอดรถยนต์ได้ ระดับพื้นระเบียง ประมาณ +2.80 เมตรและระดับพื้นห้องนอน ประมาณ +3.00 เมตร
             8. ภายในห้องอบอ้าว อากาศเข้าทางหน้างต่าง ทางอากาศผ่านออกน้อยมาก สามารถ ออกแบบหรือสร้างให้มีหน้าต่างเพิ่มขึ้นได้ ทำให้อากาศผ่านได้มากขึ้น ปกติบ้านทรงไทยจะเย็นสบายอยู่แล้ว ความเย็นสบายเป็นลักษณะเด่นของบ้านทรงไทย


    ภาพ:Bangkok16.jpg

             9. ฐานรากไม่แข็งแรงทรุดตัวง่าย ปัจจุบันการออกแบบฐานราก จะใช้วิธีตั้งเสาบ้านทรงไทยบนฐานรากตอม่อเสาเข็ม ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยคานคอดิน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการทรุดตัว
             10. ฝนรั่วได้ได้ตามแนวบานหน้าต่างและที่นอนลูกปะกน ฯลฯ หาก มีการนำไม้ใหม่ มาใช้ในการทำบานหน้าต่างและที่นอนลูกปะกนของฝา อาจทำให้มีการหดตัวของไม้แล้วเกิดช่องว่าง ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าได้ หากได้ช่างดีมีคุณภาพ ปัญหานี้จะหมดไป
             11. แสงสว่างเข้าภายในห้องได้น้อย เรือนไทยเดิม จะมีหน้าต่างน้อยบานทำให้แสงไม่สามารถเข้าได้มาก ดังนั้นปัจจุบันได้มีการออกแบบเพิ่มช่องแสงและจำนวนบานหน้าต่างมากขึ้น และมีการติดตั้งหลอดไฟฟ้าเพิ่มแสงสว่างได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
             12. ฝาเอียงทำให้ตั้งเคหภัณฑ์ชิดฝาไม่สะดวก ฝาเอียงทำให้ตั้งโต็ะ ตู้เตียงชิดฝาไม่สะดวก เราจะเห็นเฟอร์นิเจอร์ไทยสมัยก่อน จะเป็นขนิดแยกส่วน สามารถนำไปวางได้ทุกที่ในตัวบ้าน
             13. พื้นไม้ไม่ได้ระดับอ่อนตัว ข้อนี้น่าจะเป็นบ้านทรงไทยเดิมสมัยก่อน ที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์โครงสร้างการรับน้ำหนักของตัวบ้าน อาจเกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน (Partial Settlement) ของเสาแต่ละต้น ทำให้พื้นมีระดับไม่เท่ากัน
             ฯลฯ

    This entry was posted on วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 at 23:30 . You can follow any responses to this entry through the comments feed .

    0 ความคิดเห็น

    แสดงความคิดเห็น